วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

จะทำอย่างไรกับ SEO ในวันที่ Backlink ถูกลดความสำคัญ

backlink
อย่างที่ทุกคนรู้กันดีว่าเรากำลังอยู่ในยุค SEO ที่ Backlink กำลังถูกลดความสำคัญลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังๆ Google ได้ลดความสำคัญของ Backlink ลงและประกาศว่ามันไม่ใช่ปัจจัยหลักในการจัดอันดับเหมือนเมื่อก่อนแล้ว เป็นเพียงหนึ่งในองค์ประกอบของ Rank Brain เพื่อจัดอันดับ
เราจะมีแนวทางในการทำ SEO เพื่อรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร
ก่อนอื่นเราต้องย้อนกลับไปดูก่อนว่า Backlink เคยมีความสำคัญอย่างไร
ในอดีตนั้น Google ได้คิดค้นวิธีการจัดอันดับโดยใช้ Backlink เปรียบเสมือนกับการโหวต ถ้าเว็บไซต์ไหนได้รับ Backlink มากๆแสดงว่าเป็นเว็บไซต์ที่ดี มีคุณภาพ ยิ่งได้รับการโหวตมากๆ มีจำนวน Backlink เยอะก็จะส่งผลดีต่ออันดับของเว็บไซต์ใน SERP ตามไปด้วย แต่อย่างที่เรารู้กันดีว่าจำนวน Backlink อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ Backlink เหล่านั้นต้องมาจากเว็บไซต์ที่มีคุณภาพด้วย

แล้วทำไม Google ต้องลดความสำคัญของ Backlink

การใช้ Backlink แทนการโหวตก็ดูเป็น Concept ที่ดีอยู่แล้วหนิ แล้วทำไม Google ต้องลดความสำคัญของมันลงด้วยล่ะ ผมคิดว่ามี 3 สาเหตุหลักๆด้วยกันคือ
  1. Backlink ไม่ได้บ่งบอกถึงคุณภาพของเว็บไซต์เสมอไป เว็บไซต์ดีๆแต่ไม่มี Backlink ก็มีเยอะแยะไป แต่สิ่งที่แสดงถึงคุณภาพของเว็บไซต์นั้นๆก็คือ บทความอยู่ที่ในเว็บไซต์ต่างหาก นั่นจึงนำเราไปสู่คำกล่าวที่ว่า Content is king!
  2. Backlink ไม่ได้บ่งบอกถึงการโหวตดังเช่นเมื่อก่อน โอเคล่ะว่ามันยังคงมีความสำคัญอยู่ แต่ถ้าลองสังเกตกันดูดีๆ Backlink ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากเจ้าของเว็บไซต์ที่ทำ SEO โดยการสร้างลิงค์โยงกลับมาหาเว็บไซต์ตัวเอง ยังไม่รวมการทำ SEO สายดำมากมายที่ใช้โปรแกรมสร้าง Backlink เป็นจำนวนมากเพื่อหวังหลอกอัลกอริทึ่มของ Google
  3. Social Media ได้ทำให้พฤติกรรมการสร้าง Backlink ของผู้คนเปลี่ยนไปมากๆ ทุกวันนี้เราไม่ต้องแคร์จำนวนของ Backlink อีกต่อไปแล้ว ขอแค่มีเพจใหญ่ๆนำเอาบทความของเราไปแชร์นั่นจะสร้าง Traffic ได้เป็นจำนวนมากยิ่งกว่า ลองถามตัวเองดูสิครับว่าระหว่าง Backlink จำนวน 1,000 จากเว็บไซต์ต่างๆที่ไม่ก่อให้เกิด Traffic กับ Backlink เพียงหนึ่งเดียวที่มาจาก Facebook เพจดังๆที่มีคนติดตามเป็นล้าน คุณจะเลือกอันไหน ผมเลือกอันหลังเพราะมันมี Impact กับ Traffic ที่เข้าสู่เว็บไซต์ของผมและเป็น Traffic ที่มี Engagement มากกว่า

SEO กับ Backlink ในอนาคต

แล้วเราจะมีแนวทางในการรับมืออย่างไรเมื่อ Backlink ถูกลดความสำคัญลงเรื่อยๆ จริงๆแล้วต้องบอกอย่างนี้ครับ อันดับของเว็บไซต์เป็นผลพลอยได้จากคุณภาพของเว็บไซต์ คำถามคือจะทำอย่างไรให้บทความมีคุณภาพและเป็นประโยชน์มากที่สุด ทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายรักบทความของเรามากที่สุด แต่!!!!! บทความที่มีคุณภาพอย่างเดียวจะไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะพูดกันตามตรง เดี๋ยวนี้ใครๆก็สามารถทำได้ การเขียนบทความให้มีคุณภาพนั้นกลายเป็นเรื่องเบสิคที่ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว สิ่งที่ต้องต่อยอดไปจากนั้นก็คือ การทำทั้งเว็บไซต์ให้น่าเชื่อถือ
ประโยคด้านบนนั้นมีความหมายอย่างไร ลองนึกตามดูง่ายๆนะครับ บทความเดียวกัน เขียนเหมือนกันทุกตัวอักษร ถ้านำไปโพสลงใน 2 เว็บไซต์คือ 1.เว็บไซต์โนเนมธรรมดาๆ กับ 2.เว็บไซต์ใหญ่ๆอย่าง Sanook kapook pantip คุณคิดว่าอันดับของใครจะดีกว่ากัน นี่แหละครับความหมายของเว็บไซต์ที่มีน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับ
ผมไม่ได้หมายความว่าต้องทำเว็บไซต์ให้ใหญ่เหมือน Sanook Kapook Mthai Pantip นะครับ และก็ไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์เล็กๆจะไม่มีโอกาสชนะเว็บไซต์ใหญ่ๆได้ เพราะผมเองก็เคยทำ SEO ให้เว็บเล็กๆติดหน้าแรกได้หลายต่อหลาย Keyword แล้ว แต่สิ่งที่ต้องการจะสื่อก็คือ “จะทำอย่างไรให้ Google เชื่อมั่นว่าเว็บไซต์ของเราเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือมากพอสำหรับบทความเรื่องที่กำลังเขียนอยู่ จะทำอย่างไรให้ Google เชื่อมั่นว่าเว็บเรารู้จริงในเรื่องนั้นๆ”
เพราะผมสังเกตอยู่เสมอว่าเว็บไซต์ใดก็ตามถ้าทำ SEO จนติดอันดับในบาง Keyword ได้แล้ว เดี๋ยว Keyword อื่นๆที่เกี่ยวข้องมันจะค่อยๆตามมาเอง ไม่รู้คิดไปเองคนเดียวหรือเปล่า (ลองเปิด Google Analytics สังเกตดูสถิติของเว็บไซต์ตัวเองตามไปด้วยก็ได้ครับ Organic Traffic มันจะ Growth จาก Longtail Keyword ที่คล้ายกันรวมกัน)
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่ามีความสำคัญต่อการทำ SEO ในยุคปัจจุบันก็คือบทความนั้นจะต้องมีความน่าสนใจจนผู้อ่านอยากนำไปแชร์ต่อด้วย (Shareable content) การเขียนบทความที่กลุ่มเป้าหมายอ่านแล้วอยากจะเอาไปแชร์ต่อใน Social Media ให้เพื่อนๆของเขาได้อ่านกัน และผมก็ยังเชื่อหมดใจเลยว่า Google ให้น้ำหนักกับ Social signal มากด้วยเช่นกัน
credit:hooktalk

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

คนทำเว็บ ควรอ่านบทความนี้นะครับ ธุรกิจเว็บดีไซน์กับ 4 ความท้าทาย และ 2 กลยุทธ์การอยู่รอด

เว็บไซต์ถือเป็นสื่อดิจิตอลรุ่นแรกๆ ในโลก ‘อินเตอร์เน็ตบูม’ ที่สร้างทั้งอาชีพและธุรกิจให้กับ ‘นักทำเว็บ’ ไม่ว่าจะเป็น Web Designer (นักออกแบบ) Web Developer (นักพัฒนาระบบ) และ Web Hosting (ผู้เก็บข้อมูลและดูแลเว็บ) โดยในช่วงสิบปีแรก (1996 - 2006) เว็บไซต์แทบจะเป็นทางเลือกเดียวของการ ‘ปรากฏตัวตน’ บนโลกออนไลน์ของแบรนด์และองค์กรต่างๆ  

Web-Crisis01.jpg

แต่สำหรับในยุคปัจจุบันโลกของคนทำเว็บกำลังถูกท้าทายจากปัจจัยรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเกิดขึ้นของ ‘เครือข่ายสังคมออนไลน์’ (Social Network) ตั้งแต่ Myspace, Hi5, Facebook ที่เปิดช่องให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างเพจของตัวเองได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องพึ่งพานักทำเว็บมืออาชีพอีกต่อไป ทุกวันนี้มี SME จำนวนไม่น้อยที่เลือกใช้สื่อดิจิตอลเพียงแค่ Facebook, IG หรือ Line โดยไม่ได้คิดจะลงทุนสร้างเว็บไซต์อีกต่อไป 
หรือหากต้องการช่องทางซื้อขายที่เป็นระบบหน่อย SME เหล่านี้ก็จะหันไปพึ่งพาบรรดา ‘เว็บใหญ่ๆ ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซ’ อย่าง Tarad.com หรือ Shopify.com แทน (ตัดปัญหาเรื่องการพัฒนาและการดูแลระบบหลังบ้าน เช่นหน้า shopping cart, payment, report ฯลฯ ออกไปได้หมด)
อีก 2 ความท้าทายหนึ่งที่ตามมาไม่ไกลก็คือ การเกิดขึ้นของ ‘เว็บไซต์สำเร็จรูป’ เช่นพวก Wordpress ที่มีดีไซน์หลากหลายให้เลือกใช้ฟรีๆ (ไม่ต้องอาศัยทักษะชั้นมืออาชีพคุณก็สร้างหน้าเว็บขึ้นเองได้แล้ว) และความฮิตระเบิดของ ‘แอพมือถือ’ ที่ทำให้พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิตอลย้ายจากจอคอมมาอยู่บนจอมือถือแทน   (เพราะรองรับลูกเล่นได้มากกว่า และมักจะถูกเปิดซ้ำมากกว่าเว็บ)
Web-Crisis02.jpg

ปัจจัยข้างต้นเหล่านี้ทำให้บรรดานักทำเว็บทั้งหลายจำต้องผันตัวเองมาไปเป็นนักพัฒนาแอพฯ ให้ได้ด้วย…เพื่อความอยู่รอด!


อย่างไรก็ดี ใช่ว่าความสำคัญของการมีเว็บไซต์หลักหรือเว็บอันเป็นทางการขององค์กรจะสูญสิ้นไปโดยสิ้นเชิง อันที่จริงแล้ว…ยังมีเหตุผลสำคัญ 2 ข้อที่นักพัฒนาเว็บมือโปรฯ สามารถนำมาเป็นข้อได้เปรียบในการทำงานได้

1. เรื่อง ‘ความน่าเชื่อถือขององค์กร’ ด้วยว่าสื่อโซเชียลอย่างเฟสบุ๊ค ไอจี หรือไลน์นั้นสามารถสร้างขึ้นได้โดยง่าย(มาก)  ซึ่งนั่นก็หมายความว่ามันสามารถ ‘ปลอม’ ขึ้นได้ง่ายเช่นกัน (!) นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การมีเว็บไซต์หลักสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้องค์กรหรือธุรกิจขึ้นมาได้ เพราะอย่างน้อยมันก็ต้องอาศัยการลงทุนลงแรงพัฒนาเว็บขึ้นมา แถมยังต้องเสียค่าจดทะเบียน ค่าเช่า hosting ฯลฯ ส่งผลให้แบรนด์นั้นดูมีความเป็นมืออาชีพเหนือคู่แข่งขึ้นมาได้

Web-Crisis03.jpg

2. คือยังมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนไม่น้อย (กว่า 90% ในไทย) ที่ยังนิยม ‘กูเกิ้ล’ หาข้อมูลสินค้าและบริการก่อนตัดสินใจซื้อ  ซึ่งเมื่อเสิร์ชแล้วกูเกิ้ลก็ย่อมเปิดทางเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์หลักก่อน อันเป็นสิ่งที่แอพฯ มือถือยังเข้ามาทดแทนไม่ได้ ฉะนั้นการทำ SEO (Search Engine Optimization) หรือการทำให้เว็บไซต์ของเราปรากฏอยู่ในหน้าแรกของผลการค้นหา (และนำพาผู้ใช้เว็บเข้าไปที่หน้า Landing page ของแบรนด์โดยตรง) ก็ยังเป็นสิ่งที่โซเชียลมีเดียไม่สามารถตอบสนองได้ เพราะมีแค่หน้าโปรไฟล์ หน้าอัลบั้มรูป และโพสต์ต่างๆ ที่ดัดแปลงไม่ค่อยได้นัก

Web-Crisis04.jpg

สรุปปิดท้าย

- เว็บไซต์หลักจะยังคงมีบทบาทที่สำคัญของมันเอง โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ และความเป็นมืออาชีพสูงๆ  
- นักทำเว็บทั้งหลายควรต้องหันมาใส่ใจกับ 2 จุดแข็งอันเป็นข้อได้เปรียบของการมีเว็บไซต์ (โดยเฉพาะเรื่อง SEO) เพราะนี่คือหนทางเดียวที่คุณจะเอาชนะความท้าทายที่ถาโถมเข้ามาจากเครื่องมือสมัยใหม่อย่างโซเชียลมีเดียหรือแอพมือถือได้อย่างอยู่หมัด

cridit: tcdcconnect

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559

LINE เปิด API ให้ร้านค้าเชื่อมต่อแอพได้ แชทได้ และกำลังจะมีบ็อต

ประกาศสำคัญของงานแถลงข่าว LINE คือการเปิด LINE Business Platform ให้คนอื่นเข้ามาใช้งานได้มากขึ้น (สักที!) รายละเอียดของการเปิดแพลตฟอร์มแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เปิดให้ Web Service, เปิดให้ SME, เปิดให้นักพัฒนา
รายละเอียดมีดังนี้ครับ

1. Web Service

ที่ผ่านมา LINE Platform เปิดให้เฉพาะบริการในเครือของ LINE เองเท่านั้น เช่น LINE News, LINE Live, LINE Part Time Jobs แต่ตอนนี้บริษัทพร้อมเปิด Platform ให้กับเว็บเซอร์วิสนอกบริษัทแล้ว
เว็บเซอร์วิสที่มาเชื่อมต่อจะเรียกว่า Official Web Apps สามารถเข้าถึงฟีเจอร์มาตรฐานของ Platform เช่น ระบบล็อกอิน, ระบบจ่ายเงิน LINE Pay, ระบบสะสมแต้ม, LINE Business Connect API
ผู้ใช้ LINE จะสามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้จากแอพ LINE โดยตรง ไม่ต้องลำบากสร้างบัญชีล็อกอินใหม่ สามารถกรอกข้อมูลส่วนตัวที่บันทึกไว้ใน Profile+ ได้อัตโนมัติ การใช้งาน Web Apps ยังสามารถสะสมแต้ม LINE Points ได้ด้วย
เป้าหมายของ LINE ก็ชัดเจนว่าอยากให้คนมาใช้บริการ Web Apps บน LINE Platform แทนการใช้แอพแบบเนทีฟของระบบปฏิบัติการนั้นๆ รายการฟีเจอร์ก็ใกล้เคียงกัน มีระบบข้อความแจ้งเตือนแบบพุช (Push) แต่สะดวกกว่าตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องอัพเดต และไม่ต้องติดตั้งแอพลงในเครื่อง
Web Apps บน LINE Platform ยังถูกค้นพบ (Discovery) ได้ง่ายจากช่องทางต่างๆ เช่น การแชร์ ค้นหา แนะนำ
ลูกค้า LINE ภาคธุรกิจที่มี Official Account อยู่แล้ว สามารถซื้อบริการ Official Web Apps ในราคาเดือนละ 20,000 เยน (ประมาณ 6,300 บาท) ใช้งาน API ได้ไม่จำกัด แต่จำกัดจำนวนเพื่อนที่ 100,000 คน
ตัวบริการจะเปิดในช่วงฤดูร้อนกลางปีนี้ ตอนนี้มีพาร์ทเนอร์ในญี่ปุ่นแสดงความสนใจแล้ว 45 บริษัท

2. SME Partnership Program

หัวข้อแรกเป็นฟีเจอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีเงินซื้อ Official Account ส่วนธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ที่ใช้ LINE@ ก็ได้ฟีเจอร์ใหม่ด้วยเช่นกัน ภายใต้ชื่อ SME Partnership Program ที่ช่วยให้ธุรกิจใกล้ชิดกับผู้ใช้มากขึ้น
ฟีเจอร์ใหม่มีหลายอย่าง เริ่มจาก Account Page ที่มีระบบปลั๊กอิน เลือกได้ว่าจะแสดงผลข้อมูลอะไรในหน้า Account
Chat API เปิดให้ภาคธุรกิจที่มีระบบส่งข้อความหลังบ้าน สามารถเชื่อมต่อกับระบบแชทของ LINE@ ได้ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น จองโต๊ะร้านอาหารผ่านการแชทใน LINE หรือ สอบถามข้อมูลสินค้าทาง LINE
ฟีเจอร์เหล่านี้จะเริ่มเปิดบริการในเดือนเมษายน 2016

3. Developers

ฟีเจอร์ส่วนนี้เปิดสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ สิ่งที่น่าสนใจคือ LINE กำลังจะมี Chat Bot ครับ เปิด API ให้เราสามารถเชื่อมระบบ CRM หรือ IoT เข้ามาแชทได้
Chat Bot API และ Chat Bot Store เริ่มทดสอบระบบในเดือนเมษายนนี้ และเปิดใช้งานจริงช่วงกลางปี
ฟีเจอร์สำคัญอีกอย่างคือ เปิดระบบ Beacon ให้ LINE สามารถรับรู้ข้อมูลจากสถานที่ได้ ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า สามารถโปรโมทส่วนลดหรือกิจกรรมต่างๆ เมื่อผู้ใช้ LINE เดินเข้ามาในรัศมีของ Beacon (Bluetooth LE) บริการจะเริ่มทดสอบในเดือนพฤษภาคม
ฟีเจอร์อย่างที่สามคือ Chat AI ระบบบ็อตแบบปัญญาประดิษฐ์ (เหมือนกับ Facebook M) รูปแบบคือเปิดให้ปลั๊กอินภายนอกเข้ามาเชื่อมต่อได้ แปลว่าในอนาคต LINE จะฉลาดเข้าขั้น "ถามอะไรตอบได้" สามารถคุยกันได้เหมือนมนุษย์
บริการตัวนี้ต้องรอนานหน่อย เปิดปลายปีโน่นเลย
ในภาพรวมก็คือ หลังจากที่เรียกร้องกันมานาน ในที่สุด LINE ก็จะทำตัวเองเป็นแพลตฟอร์มกับเขาบ้างแล้ว (เหมือนกับที่ Facebook, Google ทำอยู่) ภาคธุรกิจจะสามารถสร้างแอพมาเชื่อมต่อ มาแชทคุยกับลูกค้าได้โดยตรง ผ่าน API ที่ LINE เตรียมไว้ให้เรานั่นเอง
กำหนดการของฟีเจอร์ต่างๆ ที่มาไม่พร้อมกัน
credit: blocknone